โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
กิจกรรมการจัดทําฐานข้อมูลพรรณไม้เพื่อการเรียนรู้ด้วย QR code

โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
 

 ข้อมูลพืช
   
 
เจ้าของภาพ ไพศาล คำหอม
  ชื่อพืช ชมพูพันธุ์ทิพย์
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Tabebuia rosea (Bertol.) Bertero ex A.DC.
  ชื่อวงศ์ BIGNONIACEAE
  ชื่อสามัญ Pink Trumpet shrub, Pink Trumpet Tree, Pink Tecoma
  ชื่อพื้นเมือง ชมพูอินเดีย ธรรมบูชา ตาเบบูย่าพันธุ์ทิพย์ แตรชมพู
  ฤดูที่ดอกบาน เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
<< พิมพ์ QR code เพื่อการศึกษา
  ลักษณะทั่วไป    


  ไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ใบประกอบแบบนิ้วมือ มี 5 ใบย่อย ดอกช่อ ออกเป็นกระจุกที่ปลายกิ่งสีชมพูอ่อนหรือม่วงอมชมพู ผลเป็นฝัก เมื่อแก่แตกใบเป็นใบประกอบรูปนิ้วมือมี 5 ใบย่อย ก้านใบรวมยาว 5-30 เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาว 0.5-2.5 เซนติเมตร ใบรูปขอบขนาน หรือรูปรีแกมรูปไข่ ขนาด 3-7 x 7.5-16 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน แผ่นใบหนาสีเขียวเข้ม ดอกช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง มีดอกย่อยจำนวนมาก ดอกเป็นสีชมพูอ่อน ชมพูสดและขาว กลางดอกสีเหลือง โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดแยกเป็น 5 แฉกคล้ายรูปแตร ยาว 5-7 เซนติเมตร มักบานพร้อมกัน ร่วงง่าย ผลแห้งแตก เป็นฝักกลม ยาว 15-30 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ดแบนสีน้ำตาลมีปีก

     
  การใช้ประโยชน์    


  ปลูกเป็นไม้ประดับ ใบต้มแก้เจ็บท้องหรือท้องเสีย หรือตำให้ละเอียดพอกใส่แผล ลำต้นใช้ทำฟืนและเยื่อใช้ทำกระดาษได้

      
เจ้าของภาพ ไพศาล คำหอม
 
ย้อนกลับ

 

Copyrights © NPRU HERB, Nakhon Pathom Rajabhat University. All rights reserved.
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
85 ถ.มาลัยแมน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม 73000 โทรศัพท์ 034-109-300 อีเมล rajabhat@npru.ac.th