โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
กิจกรรมการจัดทําฐานข้อมูลพรรณไม้เพื่อการเรียนรู้ด้วย QR code

โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
 

 ข้อมูลพืช
   
 
เจ้าของภาพ
  ชื่อพืช ทองกวาว
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Butea monosperma (Lam.) Taub.
  ชื่อวงศ์ FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE)
  ชื่อสามัญ Flame of the Forest, Bastard Teak
  ชื่อพื้นเมือง กวาว ก๋าว จอมทอง จ้า จาน ทองกวาว ทองต้น ทองธรรมชาติ ทองพรมชาติ
  ฤดูที่ดอกบาน เดือนธันวาคม-มีนาคม
<< พิมพ์ QR code เพื่อการศึกษา
  ลักษณะทั่วไป    


  ไม้ต้นขนาดกลาง ลำต้นส่วนมากจะคดงอ และแตกกิ่งต่ำ เปลือกสีเทาคล้ำ แตกระแหงเป็นร่องตื้น ๆ กิ่งอ่อนมีขนละเอียดหนา ใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อย 3 ใบเรียงสลับ ใบย่อยที่ปลายเป็นรูปไข่แกมสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ขนาดใหญ่สุด ส่วนใบย่อยด้านข้างจะเป็นรูปไม่เบี้ยว มีขอบใบเรียบ โคนเบี้ยว ปลายมน ดอกออกเป็นช่อตามกิ่งเหนือรอยแผลใบและตามปลายกิ่ง ดอกสีแสด ฐานรองดอกเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ลักษณะเป็นดอกถั่วขนาดใหญ่มี 5 กลีบ แบ่งเป็นกลีบกลาง 1 กลีบ กลีบคู่ข้าง 2 กลีบ แยกออกทั้ง 2 ข้าง และกลีบคู่ล่าง ที่เชื่อมติดกัน 2 กลีบ เกสรผู้ 10 เกสร แยกเป็นอิสระ 1 เกสร อีก 9 เกสร โคนก้านเชื่อมติดกันเป็นหลอด ผลเป็นฝักแบนรูปบรรทัดกว้าง 3.5 เซนติเมตร ยาว 1.5 เซนติเมตร ผลแก่สีน้ำตาลอมเหลือง มีขนอ่อนนุ่มสีขาวเป็นมัน มีเมล็ดเดียวตรงปลายฝัก

     
  การใช้ประโยชน์    


  เนื้อไม้เมื่อแห้งมีน้ำหนักเบาและหดตัวมาก ใช้ทำกระดานกรุบ่อน้ำ ดอก ให้สีแดงใช้ย้อมผ้าเมล็ดใช้บำบัดพยาธิภายใน ดอกใช้ขับปัสสาวะ

      
เจ้าของภาพ
 
ย้อนกลับ

 

Copyrights © NPRU HERB, Nakhon Pathom Rajabhat University. All rights reserved.
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
85 ถ.มาลัยแมน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม 73000 โทรศัพท์ 034-109-300 อีเมล rajabhat@npru.ac.th