โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
กิจกรรมการจัดทําฐานข้อมูลพรรณไม้เพื่อการเรียนรู้ด้วย QR code

โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
 

 ข้อมูลพืช
   
 
เจ้าของภาพ ณฐพร อินทนาศักดิ์
  ชื่อพืช กระทิง
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Calophyllum inophyllum L.
  ชื่อวงศ์ CLUSIACEAE (GUTTIFERAE)
  ชื่อสามัญ Alexandrian Laurel , Beautiful - leaf, Borneo mahogany, Indian laurel
  ชื่อพื้นเมือง ทิง เนาวกาน สารภีทะเล สารภีแนน
  ฤดูที่ดอกบาน เดือนตุลาคม-ธันวาคม
<< พิมพ์ QR code เพื่อการศึกษา
  ลักษณะทั่วไป    


  ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 8-20 เมตร ไม่ผลัดใบ ลำต้นค่อนข้างสั้น และมักบิดเรือนยอดเป็นพุ่มกลม ทึบ กิ่งมีมาก ยอดอ่อนเกือบเป็นรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ยาวประมาณ 1 เซนติเมตร มีขนสีน้ำตาลปนแดงประปราย เปลือกเรียบ สีน้ำตาลปนเทา มีรอบปริเป็นช่องระบายอากาศตามลำต้น ออกสีน้ำตาล มียางสีเหลืองใส ๆ ซึมออกมาแห้งติดตาม เปลือกในสีชมพู มียางเหนียว ๆ ซึม ใบเดี่ยวเรียงตรงข้าม รูปรีหรือแกมรูปไข่กลับ ยาว 8 - 15 เซนติเมตร ปลายใบกลมหรือเว้าตื้น โคนใบรูปลิ่มกว้างหรือกลม แผ่นใบค่อนข้างหนา เกลี้ยงเป็นมันวาวทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบจำนวนมาก ดอกสีขาวออกเป็นกระจุกแยกแขนงสั้น ๆ ตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง เกสรเพศผู้สีเหลืองมีจำนวนมาก ผลสุกสีเหลือง เมล็ดขนาดใหญ่ ผลสดมีเมล็ดเดียว ทรงกลม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร

     
  การใช้ประโยชน์    


  เนื้อไม้ใช้ในการก่อสร้าง ทำเครื่องเรือน และกระดูกงูเรือ น้ำมันใช้ในอุตสาหกรรมสบู่ ผลิตภัณฑ์เสริมความงาม และใช้ผสมทำเป็นน้ำมันไบโอดีเซลจากเมล็ด

      
เจ้าของภาพ ณฐพร อินทนาศักดิ์
 
ย้อนกลับ

 

Copyrights © NPRU HERB, Nakhon Pathom Rajabhat University. All rights reserved.
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
85 ถ.มาลัยแมน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม 73000 โทรศัพท์ 034-109-300 อีเมล rajabhat@npru.ac.th