โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
กิจกรรมการจัดทําฐานข้อมูลพรรณไม้เพื่อการเรียนรู้ด้วย QR code

โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
 

 ข้อมูลพืช
   
 
เจ้าของภาพ นนทวรรณ ชมนก
  ชื่อพืช ใบเงิน ใบทอง ใบนาก
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Pseuderanthemum carruthersii (Seem.) Guillaumin
  ชื่อวงศ์ ACANTHACEAE
  ชื่อสามัญ Carruthers’ falseface
  ชื่อพื้นเมือง ใบเงิน ใบทอง ใบนาก
  ฤดูที่ดอกบาน เดือนมีนาคม-เมษายน
<< พิมพ์ QR code เพื่อการศึกษา
  ลักษณะทั่วไป    


  ไม้พุ่มขนาดกลาง สูง 1-2 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามเป็นคู่ ๆ สลับกันตามลำต้น ลักษณะของใบเป็นรูปรี ปลายใบแหลม โคนใบแหลม ส่วนขอบใบเป็นคลื่น ใบมีขนาด กว้าง 4-6 เซนติเมตร และยาว 8-12 เซนติเมตร ใบเป็นลายมีหลายสีและจะเรียกตามลักษณะที่ด่าง ดอกเป็นช่อกระจุก โดยจะออกที่ปลายยอด ดอกย่อยเป็นสีม่วงแดงหรือสีแดงเข้ม โคนกลีบดอกเป็นหลอดรูปกรวย ยาว 3-4 เซนติเมตร ปลายแยกเป็นปาก 2 ปาก แยกเป็นปากบนและปากล่าง ปากล่างห้อยหัวลงมี 3 กลีบ ส่วนปากบนจะงอนขึ้นด้านบน ด้านในกลีบ ดอกมีขนอ่อนเต็มไปหมด ส่วนด้านนอกเกลี้ยง ดอกมีเกสรเพศผู้ 2 ก้านอยู่ข้างเกสรเพศเมีย ผลเป็นฝัก ลักษณะเป็นรูปทรงรี ปลายฝักเป็นติ่งแหลม เมื่อฝักแห้งจะแตกออกได้ และไม่ค่อยติดฝัก

     
  การใช้ประโยชน์    


  ใบและลำต้นรสเย็นจืด แก้ไข้กำเดา ไข้หวัดน้อย ไข้หวัดใหญ่ ไข้พิษ ไข้กาฬ ดับพิษ ตับอักเสบ แก้ร้อนในกระหายน้ำ กระทุ้งพิษ ทำยาเขียว ใช้เป็นยาแก้ไข้สำหรับเด็กในกรณีที่เป็นไข้หอบ แก้อิดโรย อ่อนกำลัง ขัดเบา มูกเลือด แก้พิษเบื่อเมา และพยาธิ ดอกรสเฝื่อนเล็กน้อย ชงดื่มขับประจำเดือน เกสรรสเย็นหอมหวาน แก้อ่อนเพลีย แก้ไข้มีพิษร้อน

      
เจ้าของภาพ นนทวรรณ ชมนก
 
ย้อนกลับ

 

Copyrights © NPRU HERB, Nakhon Pathom Rajabhat University. All rights reserved.
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
85 ถ.มาลัยแมน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม 73000 โทรศัพท์ 034-109-300 อีเมล rajabhat@npru.ac.th