โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
กิจกรรมการจัดทําฐานข้อมูลพรรณไม้เพื่อการเรียนรู้ด้วย QR code

โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
 

 ข้อมูลพืช
   
 
เจ้าของภาพ อัจฉราพร เภาพูล
  ชื่อพืช ประดู่บ้าน
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus indicus Willd.
  ชื่อวงศ์ FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE)
  ชื่อสามัญ "Burma Padauk, Narra, Angsana Norra, Malay Padauk, Burmese Rosewood, Andaman Redwood, Amboyna Wood
  ชื่อพื้นเมือง ดู่บ้าน ประดู่กิ่งอ่อน ประดู่ลาย ประดู่เหลือง ประดู่อังสนา
  ฤดูที่ดอกบาน เดือนมีนาคม-พฤษภาคม
<< พิมพ์ QR code เพื่อการศึกษา
  ลักษณะทั่วไป    


  ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูง 10-20 เมตร ไม้ผลัดใบ เรือนยอดกลม ลำต้นเหนือดินตั้งตรง เปลือกต้นสีน้ำตาล แตกเป็นร่องตามยาวและหลุดล่อนเป็นแผ่นไม่มียาง ใบสีเขียวสดใบมัน ประกอบขนนก ชั้นเดียวปลายใบคี่ แผ่นใบบางแต่ค่อนข้างเหนียวและย่นเป็นลอน ขนาดแผ่นใบกว้าง 4-5 เซนติเมตร ยาว 6-10 เซนติเมตร ใบเรียงแบบสลับ รูปร่างใบเป็นรูปไข่แกมขอบขนาน ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นดอกช่อแบบช่อกระจะ ดอกออกที่ซอกใบใกล้ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 กลีบ มีสีเขียว กลีบดอกคล้ายรูปถั่วสีเหลือง ดอกแก่มีสีเหลืองแกมน้ำตาล เกสรเพศผู้ มีจำนวน 10 อัน เกสรเพศเมีย 1 อัน ดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ผลเป็นผลเดี่ยว ผลแห้งมีปีกเดียว ทรงกลม แบน ปีกหยักเป็นคลื่นล้อมรอบ เส้นผ่าศูนย์กลางรวมปีก 3.5-6 เซนติเมตร มีกระเปาะรูปรีนูนเด่นอยู่ตรงกลาง สีเขียวสด เมื่อแก่สีน้ำตาล เมล็ดสีน้ำตาลเข้ม รูปรี มี 1-2 เมล็ดต่อฝัก

     
  การใช้ประโยชน์    


  เนื้อไม้ ใช้แปรรูปเป็นเครื่องประดับตกแต่งบ้าน เครื่องดนตรี ก่อสร้างทุกชนิด มีสรรพคุณ แก้พิษไข้ กล่อมโลหิต บำรุงโลหิต คุมธาตุ แก่นไม้มีสีแดง ใช้ย้อมผ้า ใบและดอก ทำให้ฝีสุกเร็ว แก้ผดผื่นคัน น้ำคั้นจากใบ ใช้สระผม รากและยาง แก้ปากเปื่อย ปากแตก แก้ท้องเสีย แก้โรคบิด

      
เจ้าของภาพ อัจฉราพร เภาพูล
 
ย้อนกลับ

 

Copyrights © NPRU HERB, Nakhon Pathom Rajabhat University. All rights reserved.
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
85 ถ.มาลัยแมน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม 73000 โทรศัพท์ 034-109-300 อีเมล rajabhat@npru.ac.th