โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
กิจกรรมการจัดทําฐานข้อมูลพรรณไม้เพื่อการเรียนรู้ด้วย QR code

โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
 

 ข้อมูลพืช
   
 
เจ้าของภาพ วิลาวรรณ ลิ้มชื่น
  ชื่อพืช ปีบทอง
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Mayodendron igneum (Kurz) Kurz
  ชื่อวงศ์ BIGNONIACEAE
  ชื่อสามัญ
  ชื่อพื้นเมือง อ้อยช้าง กาสะลองคำ สำเภาหลามต้น สะเภา กากี จางจืด ปัœงอะมี เดี้ยงด่งเบี้ยง
  ฤดูที่ดอกบาน เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน
<< พิมพ์ QR code เพื่อการศึกษา
  ลักษณะทั่วไป    


  ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง สูง 6-20 เมตร กิ่งก้านและลำต้นจะมีรูระบายอากาศกระจายอยู่ทั่วไป เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็นลายประสานกันคล้ายตาข่าย ใบประกอบแบบขนนกสามชั้นยาว 18-60 เซนติเมตร เรียงตรงข้ามกัน มีใบประกอบย่อย 3-4 คู่ ส่วนใบย่อยมี 3-5 คู่ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่แกมรูปหอก รูปขอบขนานแกมใบหอก หรือรูปวงรีแกมใบหอก ปลายใบแหลม โคนใบแหลมสอบ ส่วนขอบใบเรียบบิด เป็นคลื่นเล็กน้อยมีต่อมอยู่ที่โคนด้านหลังของใบ แผ่นใบมีลักษณะเป็นมัน ท้องใบมีต่อมเล็ก ๆ อยู่ประปราย ทั่วไป ดอกเป็นช่อสั้นหรือออกเป็นช่อกระจุกทั่วไปตามกิ่งก้านและลำต้น ในหนึ่งกระจุกจะมีดอกอยู่ 3-10 ดอก และทยอยบานครั้งละ 3-5 ดอก ก้านช่อดอกสีน้ำตาลอมแดง ยาว 1-2 เซนติเมตร กลีบเลี้ยงหรือกลีบรองดอก มีสีน้ำตาลอมแดง ยาว 1-1.5 เซนติเมตร มีรอยผ่าเปิดด้านเดียว ด้านหน้าตามทางยาวติดกันเป็นหลอด ห่อหุ้มกลีบดอก กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอดรู ทรงกระบอกโคนแคบ ตรงกลางโป่งออกหรือเป็นรูปกรวยหรือ เชื่อมติดกันเป็นรูประฆังยาว ปลายกลีบแยกเป็น 5 กลีบ มี ลักษณะบานแผ่และม้วนลงด้านนอก มีเกสรเพศผู้ 4 อัน โผล่ออกมาเสมอปลายกลีบดอก ยอดเกสรเพศเมียแยกเป็นแฉก 2 แฉก ผลแห้ง ลักษณะรูปฝักดาบยาวและห้อยลง ความกว้างฝัก 0.5-0.7 เซนติเมตร และมีความยาว 30-45 เซนติเมตร เมื่อฝักแห้งจะแตกได้เป็นพู 2 พู เมล็ดแห้ง แบน บาง และมีปีกเป็นเยื่อบาง ๆ สีขาว ยาวออกทางด้านข้าง ขอบปีกเสมอกับตัวเมล็ด

     
  การใช้ประโยชน์    


  ดอกนำมารับประทานโดยการทอดหรือลวกเป็นผักจิ้มกับน้ำพริก และนำมาทำสีย้อมผ้าได้

      
เจ้าของภาพ วิลาวรรณ ลิ้มชื่น
 
ย้อนกลับ

 

Copyrights © NPRU HERB, Nakhon Pathom Rajabhat University. All rights reserved.
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
85 ถ.มาลัยแมน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม 73000 โทรศัพท์ 034-109-300 อีเมล rajabhat@npru.ac.th