ข้อมูลพืช |
|
|
เจ้าของภาพ
ไพศาล คำหอม |
|
ชื่อพืช |
พญาสัตบรรณ |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Alstonia scholaris (L.) R. Br. |
ชื่อวงศ์ |
APOCYNACEAE |
ชื่อสามัญ |
White Cheesewood |
ชื่อพื้นเมือง |
ตีนเป็ด หัสบัน สัตบรรณ จะบัน บะซา |
ฤดูที่ดอกบาน |
เดือนตุลาคม-ธันวาคม |
|
<< พิมพ์ QR code เพื่อการศึกษา |
ลักษณะทั่วไป |
|
|
ไม้ต้นขนาดใหญ่ มีเรือนยอดเป็นรูปเจดีย์ทรงแบน ลำต้นมีร่องตามแนวยาวของความสูง เปลือกมีสีเทาอมเหลืองหรือสีน้ำตาล เปลือกชั้นในสีน้ำตาล มีน้ำยางสีขาวไหลมาก เนื้อไม้และกิ่งเปราะหักง่าย ใบเดี่ยว เรียงเป็นวงรอบกิ่ง แผ่นใบเหนียว รูปรีถึงรูปหอก ปลายใบแหลม และมีติ่งเล็กน้อย ขอบและผิวใบเรียบ ออกดอกตามปลายกิ่ง ดอกมีขนาดเล็ก กลีบดอกรูปไข่ มีหยักเว้า สีขาวหรือเหลืองอมเขียว ปลายดอกอาจแหลม และแบนมน มีขนนุ่มปกคลุม ปากท่อด้านในดอก มีขนยาว ผลมีลักษณะเป็นฝักกลมยาว สีขาวอมเขียว เป็นคู่ ผิวฝักเกลี้ยงห้อยลงด้านล่าง ฝักแก่มีสีเทาน้ำตาล และแตกตามตะเข็บ ภายในฝักมีเมล็ดจำนวนมาก
|
|
|
|
|
การใช้ประโยชน์ |
|
|
"เนื้อไม้สามารถนำไปทำทุ่นของแหและอวนได้ ใช้ทำหีบใส่ของ หีบศพ ทำโต๊ะ เก้าอี้ ฝักมีด ของเล่นสำหรับเด็ก รองเท้าไม้หรือนำไปใช้ทำโครงสร้างส่วนต่าง ๆ ของบ้าน ดอกสามารถสกัดเป็น
น้ำมันหอมระเหยใช้ไล่ยุงได้"
|
|
|
|
|
|
เจ้าของภาพ
ไพศาล คำหอม |
|
ย้อนกลับ |