โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
กิจกรรมการจัดทําฐานข้อมูลพรรณไม้เพื่อการเรียนรู้ด้วย QR code

โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
 

 ข้อมูลพืช
   
 
เจ้าของภาพ ธนวรรณ
  ชื่อพืช มะขาม
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Tamarindus indica L.
  ชื่อวงศ์ FABACEAE (LEGUMINOSAE-CAESALPINIOIDEAE)
  ชื่อสามัญ Tamarind, Indian date
  ชื่อพื้นเมือง ขาม ตะลูบ มอดเล หมากแกง
  ฤดูที่ดอกบาน เดือนมีนาคม-พฤษภาคม
<< พิมพ์ QR code เพื่อการศึกษา
  ลักษณะทั่วไป    


  ไม้ต้นขนาดใหญ่ สูง 12-20 เมตร ขนาดทรงพุ่ม 10-20 เมตร ผลัดใบ ทรงพุ่มกลม แน่นทึบ เปลือกต้นหนา ขรุขระ สีนํ้าตาลเข้มอมเทา แตกเป็นร่องลึกตามแนวยาว เปลือกที่กั้นสลับร่องลึก แตกเป็นกาบหนา มีรูปร่างไม่แน่นอน ใบประกอบแบบขนนก ยาว 5-10 เซนติเมตร กว้าง 2-4 เซนติเมตร ใบย่อย รูปขอบขนาน จำนวน 10-20 คู่ ออกตรงข้าม ยาว 1.2-2 เซนติเมตร กว้าง 3-5 มิลลิเมตร ขอบใบเรียบ ปลายเป็นติ่งแหลม ช่อดอกแบบช่อเชิงลดห้อยลง ก้านช่อดอกยาว 5-10 มิลลิเมตร กลีบเลี้ยงเป็นแผ่นรูปช้อน 2 แผ่น ยาว 1-1.2 เซนติเมตร กลีบดอกมี 5 กลีบ กลีบเจริญ 3 กลีบ สีเหลืองอ่อนมีเส้นภายในสีแดง กลีบดอก 2 กลีบ ลดรูป เกสรเพศผู้ มีก้านเกสร เชื่อมติดกัน เกสรที่สมบูรณ์ 3 อัน อีก 2 อัน เป็นเส้นเรียว เกสรเพศเมีย เหนือกลีบเลี้ยง ปลายเกสร เป็นก้อนรูปรี ผลแบบฝัก โค้ง ค่อนข้างแบน ยาว 7-15 เซนติเมตร กว้าง 2-3 เซนติเมตร เมล็ด สีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ

     
  การใช้ประโยชน์    


  ยอดอ่อน ดอกและฝักของมะขามเป็นผัก ผลไม้ และเครื่องปรุงรส

      
เจ้าของภาพ ธนวรรณ
 
ย้อนกลับ

 

Copyrights © NPRU HERB, Nakhon Pathom Rajabhat University. All rights reserved.
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
85 ถ.มาลัยแมน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม 73000 โทรศัพท์ 034-109-300 อีเมล rajabhat@npru.ac.th