โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
กิจกรรมการจัดทําฐานข้อมูลพรรณไม้เพื่อการเรียนรู้ด้วย QR code

โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
 

 ข้อมูลพืช
   
 
เจ้าของภาพ วัศพล นิลสุวรรณ
  ชื่อพืช มะม่วง
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Mangifera indica L.
  ชื่อวงศ์ ANACARDIACEAE
  ชื่อสามัญ Mango
  ชื่อพื้นเมือง ตะเคาะซะ จ๋องบั่วะ
  ฤดูที่ดอกบาน เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
<< พิมพ์ QR code เพื่อการศึกษา
  ลักษณะทั่วไป    


  ไม้ต้นขนาดใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขาออกไปรอบต้นมากมายจนดูหนาทึบ เปลือกของต้นจะมี สีน้ำตาลอมดำ พื้นผิวเปลือกขรุขระ เป็นร่องไปตามแนวยาวของลำต้น ใบเป็นรูปหอก มีสีเขียวเข้ม เป็นไม้ ใบเดี่ยวจะออกเรียงกันเป็นคู่ ๆ ไปตามก้านใบ ขอบใบเรียบไม่มีหยัก ปลายใบแหลม ส่วนโคนใบมน เนื้อใบ ค่อนข้างจะหนา ดอกออกเป็นช่อ ช่อหนึ่งมี 15-20 ดอก ลักษณะของดอกเป็นสีเหลืองอ่อน หรือสีนวล ๆ เป็นดอกที่มีขนาดเล็ก เมื่อดอกโรยก็จะติดผล ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่หรือสุกเต็มที่ก็จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองสด ภายในผลมีเมล็ด ผลหนึ่งมีเมล็ดเดียว

     
  การใช้ประโยชน์    


  "เนื้อไม้ของต้นมะม่วง สามารถนำมาใช้ทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้ เนื้อมะม่วงใช้ประกอบอาหารหรือใช้รับประทานเป็นของว่างได้หลากหลาย เช่น ทำน้ำพริก ยำมะม่วง เมี่ยงส้ม หรือทำเป็นมะม่วงน้ำปลาหวาน คั้นเป็นน้ำผลไม้ก็ได้เช่นกัน นำมาแปรรูปเป็นมะม่วงกวน มะม่วงแก้ว มะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม มะม่วงเค็ม น้ำแยมมะม่วง พายมะม่วง เป็นต้น ใบแก่ของมะม่วงใช้เป็นสีย้อมผ้าให้เป็นสีเหลือง ทรีตเมนต์บำรุงผิวหน้า ด้วยการใช้มะม่วงสุกมาฝานเป็นชิ้นบาง ๆ จากนั้นใช้ช้อนบดขยี้เนื้อมะม่วงให้ละเอียด แล้วนำมาพอกหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก จะทำให้ผิวหน้าดูสะอาดเกลี้ยงเกลา รูขุมขนดูกระชับ ผิวเรียบเนียน"

      
เจ้าของภาพ วัศพล นิลสุวรรณ
 
ย้อนกลับ

 

Copyrights © NPRU HERB, Nakhon Pathom Rajabhat University. All rights reserved.
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
85 ถ.มาลัยแมน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม 73000 โทรศัพท์ 034-109-300 อีเมล rajabhat@npru.ac.th