โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
กิจกรรมการจัดทําฐานข้อมูลพรรณไม้เพื่อการเรียนรู้ด้วย QR code

โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
 

 ข้อมูลพืช
   
 
เจ้าของภาพ อลิษา ละมุนมอญ
  ชื่อพืช มะยม
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Phyllanthus acidus (L.) Skeels
  ชื่อวงศ์ PHYLLANTHACEAE
  ชื่อสามัญ Star gooseberry
  ชื่อพื้นเมือง หมากยม ยม
  ฤดูที่ดอกบาน เดือนเมษายน-พฤษภาคม
<< พิมพ์ QR code เพื่อการศึกษา
  ลักษณะทั่วไป    


  ไม้ต้นขนาดเล็กถึงกลาง สูงประมาณ 3-10 เมตร ลำต้นมีลักษณะค่อนข้างกลม ผิวเป็นคลื่นเล็กน้อย ลำต้นแตกกิ่งตั้งแต่ระดับล่างของลำต้น กิ่งค่อนข้างเปราะและหักง่าย แตกใบจำนวนมากตามกิ่ง ใบเป็นใบประกอบ แทงออกตามกิ่ง มีก้านใบยาว 20-30 เซนติเมตร แต่ละก้านใบมีใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ใบมีสีเขียว แผ่นใบเรียบ ใบเป็นรูปไข่ค่อนข้างเบี้ยว ฐานใบค่อนข้างกลม ปลายใบแหลม กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 4-8 เซนติเมตร ดอกออกเป็นช่อ แทงออกตามกิ่ง และลำต้น แต่ส่วนมากออกตามปลายกิ่งจนถึงยอด มักแทงงอกบริเวณด้านล่างของใบ เป็นดอกเพศผู้ และดอกเพศเมียในต้นเดียวกัน มีก้านดอกยาว 1-2 มิลลิเมตร กลีบดอกมีรูปร่างคล้ายไต มีสีเขียวหรือสีแดงเรื่อ กลีบดอกยาวประมาณ 1.5 มิลลิเมตร ดอกเพศผู้มีเกสรเพศผู้ 4 อัน ดอกเพศเมียมีรัง ไข่3-4 ห้อง บางครั้งอาจพบเกสรตัวผู้1-3 อัน บริเวณฐานรังไข่ ผลมีลักษณะเป็นพูเว้านูนรอบผล ประมาณ 6-8 พู ผลค่อนข้างกลมแบน ผลกว้าง 1-3 เซนติเมตร มีขั้วผล สั้น 0.5 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว ผลแก่มีสีเหลืองอมเขียวเล็กน้อย และแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองนวล เนื้อผลมีรสเปรี้ยว 1 ผล มี 1 เมล็ด มีลักษณะเป็นพูคล้ายพูผล เมล็ดมีสีนวลอมน้ำตาล เนื้อเมล็ดแข็งมาก

     
  การใช้ประโยชน์    


  ผลใช้เป็นยาระบาย รับประทานเป็นผลไม้สดและมีการนำมาประกอบอาหาร ยอดอ่อน ใช้รับประทานเป็นผักสด

      
เจ้าของภาพ อลิษา ละมุนมอญ
 
ย้อนกลับ

 

Copyrights © NPRU HERB, Nakhon Pathom Rajabhat University. All rights reserved.
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
85 ถ.มาลัยแมน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม 73000 โทรศัพท์ 034-109-300 อีเมล rajabhat@npru.ac.th