โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
กิจกรรมการจัดทําฐานข้อมูลพรรณไม้เพื่อการเรียนรู้ด้วย QR code

โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
 

 ข้อมูลพืช
   
 
เจ้าของภาพ อมรเทพ นาคกระแชง
  ชื่อพืช ยางนา
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Dipterocarpus alatus Roxb. ex G.Don
  ชื่อวงศ์ DIPTEROCARPACEAE
  ชื่อสามัญ Yang
  ชื่อพื้นเมือง กาตีล ขะยาง จะเตียล จ้อง ชันนา ทองหลัก ยาง ยางกุง ยางขาว ยางควาย ยางใต้ ยางเนิน ยางแม่น้ำ ยางหยวก เ
  ฤดูที่ดอกบาน เดือนมีนาคม-พฤษภาคม
<< พิมพ์ QR code เพื่อการศึกษา
  ลักษณะทั่วไป    


  ไม้ต้นผลัดใบ สูงถึง 50 เมตร เรือนยอดเป็นพุ่มกลม ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีน้ำตาลอ่อนหรือเทาปนขาว ค่อนข้างเรียบ ลำ ต้นขนาดใหญ่ เปลือกมักแตกสะเก็ดเป็นหลุมตื้น เปลือกในสีน้ำ ตาลอ่อนอมชมพู ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ถึงรูปรีแกมรูปไข่ กว้าง 6-15 เซนติเมตร ยาว 15-35 เซนติเมตร ปลายใบมน ถึงแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านบนเกลี้ยง ยกเว้นเส้นกลางใบ ผิวใบด้านล่างมีขนนุ่ม เส้นแขนงใบ 14-16 คู่ ก้านใบยาว 3-5 เซนติเมตร ดอกสีชมพู ออกเป็นช่อตามง่ามใบใกล้ยอด ผลรูปขอบขนาน กว้าง 1.5-2 เซนติเมตร ยาว 3-4 เซนติเมตร มีครีบตามความยาวของผล 5 ครีบ มีปีกยาวใหญ่ 2 ปีก และปีกสั้น 3 ปีก

     
  การใช้ประโยชน์    


  น้ำมันยางจากต้นสามารถนำมาใช้โดยตรงเพื่อใช้ผสมชันไม้อื่น ๆ ใช้ยาเครื่องจักสานกันน้ำรั่ว ยาแนวเรือ เพื่ออุดรอยรั่ว ทาไม้ ใช้ผสมขี้เลื่อยจุดไฟ หรือใช้ทำไต้จุดไฟส่อง หรือนำมาใช้เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อื่น ๆเช่น สีทาบ้าน หมึกพิมพ์ เนื้อไม้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างอาคารบ้านเรือนได้ โดยนิยมนำมาเลื่อยทำเสาบ้าน ไม้พื้น ไม้ระแนง โครงหลังคา ฝ้าเพดาน เครื่องเรือนต่าง ๆ

      
เจ้าของภาพ อมรเทพ นาคกระแชง
 
ย้อนกลับ

 

Copyrights © NPRU HERB, Nakhon Pathom Rajabhat University. All rights reserved.
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
85 ถ.มาลัยแมน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม 73000 โทรศัพท์ 034-109-300 อีเมล rajabhat@npru.ac.th