ข้อมูลพืช |
|
|
เจ้าของภาพ
กานดา เจริญสุข |
|
ชื่อพืช |
สัก |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Tectona grandis L.f. |
ชื่อวงศ์ |
LAMIACEAE (LABIATAE) |
ชื่อสามัญ |
Teak |
ชื่อพื้นเมือง |
สักทอง สักหยอก สักหิน เคาะเยียโอ ปายี้ ปีฮือ เป้อยี เส่บายี้ |
ฤดูที่ดอกบาน |
เดือนกรกฎาคม-ตุลาคม |
|
<< พิมพ์ QR code เพื่อการศึกษา |
ลักษณะทั่วไป |
|
|
ไม้ต้นขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นตั้งแต่ 20 เมตรขึ้นไป และอาจสูงได้ถึง 30 เมตร มีลำต้นตรง เรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลมค่อนข้างทึบ เปลือกต้นหนาเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อนแกมเทา เปลือกแตก เป็นร่องเล็ก ๆ ตามความยาวของลำต้น ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ แตกออกจากกิ่งเป็นคู่ ๆ ตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปรีกว้าง หรือรูปไข่กลับ ปลายใบมีหางสั้น ๆ โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้าง 12-35 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-60 เซนติเมตร พื้นใบด้านบนและด้านล่างสากมือ ท้องใบเป็นสีเขียวและมีขนปกคลุม มีก้านใบยาว 1-5 เซนติเมตร ดอกเป็นช่อขนาดใหญ่ โดยจะออกตาม ซอกใบและปลายยอด ดอกย่อยมีขนาดเล็ก กลีบดอกเป็นสีเขียวนวล มีกลีบดอก 6 กลีบ โคนกลีบดอก เชื่อมติดกันเป็นหลอดและมีขนทั้งด้านนอกและด้านใน ผลเป็นรูปทรงกลมแป้น มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1-2 เซนติเมตร ผลจะมีชั้นของกลีบเลี้ยงหุ้มอยู่ มีลักษณะพองลมและบาง เป็นสีเขียว ในหนึ่งผลจะมี เมล็ดอยู่ 1-4 เมล็ด และเมื่อผลแก่จัดจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
|
|
|
|
|
การใช้ประโยชน์ |
|
|
เนื้อไม้เหมาะสำหรับสร้างบ้านเรือน ทำเครื่องเรือน ใบแก้โรคเบาหวาน ต้มอมแก้เจ็บคอ ดอกขับปัสสาวะ แก้อ่อนเพลีย แก้เบาหวาน รากเป็นยาแก้ไอ
|
|
|
|
|
|
เจ้าของภาพ
กานดา เจริญสุข |
|
ย้อนกลับ |