โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
กิจกรรมการจัดทําฐานข้อมูลพรรณไม้เพื่อการเรียนรู้ด้วย QR code

โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
 

 ข้อมูลพืช
   
 
เจ้าของภาพ อมรเทพ นาคกระแชง
  ชื่อพืช สำโรง
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Sterculia foetida L.
  ชื่อวงศ์ MALVACEAE
  ชื่อสามัญ Bastard poon, Java olive, Skunk tree
  ชื่อพื้นเมือง จำมะโฮง, มะโหรง, โหมโรง
  ฤดูที่ดอกบาน เดือนพฤศจิกายน-ธันวาคม
<< พิมพ์ QR code เพื่อการศึกษา
  ลักษณะทั่วไป    


  ไม้ต้นผลัดใบ สูงได้ถึง 30 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาลปนเทา โคนต้นมีพูพอนต่ำ ๆ ใบเป็น ใบประกอบแบบนิ้วมือ กางแผ่ออกจากจุดเดียวกัน เรียงเวียนตอนปลายกิ่ง ใบย่อย 5-7 ใบ รูปรีหรือ รีแกมขอบขนาน กว้าง 3.5-6 เซนติเมตร ยาว 10-30 ซนติเมตร ปลายใบแหลมหรือมีติ่งแหลม โคนใบรูปลิ่ม ก้านใบประกอบยาว 13-20 เซนติเมตร ก้านใบย่อยยาว 3-5 มิลลิเมตร ดอกสีแดงหรือสีแสด มีกลิ่นเหม็น ออกเป็นช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่งหรือซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อดอกยาว 10-30 เซนติเมตร มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ ปลายม้วนออก ผลเป็นแบบแห้งแตกเปลือกแข็ง สีแดงปนน้ำตาล กว้าง 6-9 เซนติเมตร ยาว 8-10 เซนติเมตร เมื่อแก่แตกออกเป็น 2 ซีก ภายในมีเมล็ดสีดำรูปขอบขนาน 10-15 เมล็ด

     
  การใช้ประโยชน์    


  "เปลือกต้นและใบสำโรงมีสรรพคุณเป็นยาระบายอย่างอ่อน ขับเหงื่อ ขับปัสสาวะ เมล็ดรับประทานได้เหมือนถั่ว รสชาติคล้ายโกโก้ แต่มีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ น้ำมันจากเมล็ดใช้ในทางการแพทย์และเป็น เชื้อเพลิงชีวภาพ"

      
เจ้าของภาพ อมรเทพ นาคกระแชง
 
ย้อนกลับ

 

Copyrights © NPRU HERB, Nakhon Pathom Rajabhat University. All rights reserved.
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
85 ถ.มาลัยแมน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม 73000 โทรศัพท์ 034-109-300 อีเมล rajabhat@npru.ac.th