โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
กิจกรรมการจัดทําฐานข้อมูลพรรณไม้เพื่อการเรียนรู้ด้วย QR code

โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
 

 ข้อมูลพืช
   
 
เจ้าของภาพ ศิริกานต์
  ชื่อพืช หูกวาง
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Terminalia catappa L.
  ชื่อวงศ์ COMBRETACEAE
  ชื่อสามัญ Indian Almond, Tropical Almond
  ชื่อพื้นเมือง โคน ดัดมือ ตัดมือ ตาปัง หลุมปัง
  ฤดูที่ดอกบาน เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน และเดือนสิงหาคม-พฤศจิกายน
<< พิมพ์ QR code เพื่อการศึกษา
  ลักษณะทั่วไป    


  ไม้ยืนต้นประเภทผลัดใบ มีเปลือกเรียบ กิ่งแตกรอบลำต้นตามแนวนอนเป็นชั้นคล้ายฉัตร ใบหูกวางจัดเป็นใบเดี่ยว มีสีเขียวอ่อนเมื่อแตกใบใหม่ และเมื่อแก่จะออกสีเหลืองถึงน้ำตาล ใบจะแตก เรียงสลับบริเวณปลายกิ่ง มีรูปไข่กลับด้าน กว้าง 8-15 เซนติเมตร ยาว 12-15 เซนติเมตร ปลายใบ มีติ่งแหลม ส่วนโคนใบมีลักษณะสอบแคบ แผ่นใบมีลักษณะหนา และมีขนนุ่มปกคลุม ขอบใบเรียบ ดอกจะออกเป็นช่อบริเวณซอกใบหรือบริเวณปลายกิ่ง ดอกสีขาวนวล ขนาดเล็ก ประกอบด้วย โคนกลีบเลี้ยงที่เชื่อมติดกัน ส่วนปลายแยกเป็น 5 แฉก รูปสามเหลี่ยม ช่อดอกมีรูปเป็นแท่งยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร ดอกมีสีขาว ไม่มีกลีบดอก ดอกเพศผู้จะอยู่ปลายช่อ โดยมีดอกสมบูรณ์เพศบริเวณ โคนช่อ ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่หรือรูปรี ป้อมและแบนเล็กน้อย ความกว้างประมาณ 2-5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร เมื่อแก่จะมีสีเหลืองออกน้ำตาล และเมื่อแห้งจะเป็นสีดำคล้ำ ประกอบด้วย เมล็ดเพียง 1 เมล็ด ลักษณะเป็นรูปไข่เรียวยาว คล้ายอัลมอนด์

     
  การใช้ประโยชน์    


  แก่นไม้ใช้ทำสีย้อมผ้า เมล็ดรับประทานได้ ส่วนลำต้น แก้ไข้ ยาระบาย ขับลม ยาสมาน ขับพยาธิ ขับเหงื่อ

      
เจ้าของภาพ ศิริกานต์
 
ย้อนกลับ

 

Copyrights © NPRU HERB, Nakhon Pathom Rajabhat University. All rights reserved.
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
85 ถ.มาลัยแมน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม 73000 โทรศัพท์ 034-109-300 อีเมล rajabhat@npru.ac.th