โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
กิจกรรมการจัดทําฐานข้อมูลพรรณไม้เพื่อการเรียนรู้ด้วย QR code

โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
 

 ข้อมูลพืช
   
 
เจ้าของภาพ พีระพงษ์ แขกสินทร
  ชื่อพืช อัญชัน
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Clitoria ternatea L.
  ชื่อวงศ์ FABACEAE (LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE)
  ชื่อสามัญ Blue pea, Butterfly pea, Asian pigeonwings
  ชื่อพื้นเมือง อังจัน แดงชัน เอื้องชัน เอื้องจัน
  ฤดูที่ดอกบาน ออกดอกตลอดปี
<< พิมพ์ QR code เพื่อการศึกษา
  ลักษณะทั่วไป    


  ไม้ล้มลุกและไม้เลื้อย ลำต้นยาวมากกว่า 3 เมตร มีขนาดเล็กแตกแขนงเป็นกิ่งย่อย กิ่งอ่อนมีสีเขียว กิ่งแก่มีสีน้ำตาลและแตกกิ่งก้านสาขาเป็นจำนวนมากและใช้ปลายยอดเลื้อยพันตามวัตถุที่เกาะได้ ใบแตกออก สลับกันตามข้อกิ่ง ลักษณะเรียวบางค่อนข้างกลม ตรงปลายใบจะโค้งแหลม ฐานใบมน ยาว 1.5-5 เซนติเมตร และกว้าง 0.3-3 เซนติเมตร ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ก้านใบยาวประมาณ 1.5-3 เซนติเมตร หนึ่งก้านใบ มีใบย่อยประมาณ 5-7 ใบ ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ มี 1-2 ดอก กลีบดอกมี 5 กลีบ แบ่งเป็น 2 ปาก ปากล่าง ขนาดใหญ่ ขอบมน กลีบดอกย่นบาง ตรงกลางดอกมีแถบสีเหลืองขาว กลีบเลี้ยงสีเขียวมี 5 กลีบ ยาว 1.5-2 เซนติเมตร แผ่นกลีบบาง ปลายแยกเป็น 5 แฉก แฉกลึกประมาณกึ่งหนึ่งหรือน้อยกว่า ปลายแฉกแหลมยาว ดอกมีสีน้ำเงิน ม่วง หรือขาว ตรงกลางกลีบมีสีเหลืองหม่น ขอบสีขาว รูปดอกถั่ว แต่ละกลีบมีขนาดไม่เท่ากัน มีกลีบใหญ่ที่สุด 1 กลีบ มีจุดแต้มสีเหลืองกลางกลีบ เกสรเพศผู้ติดสองกลุ่ม 9 อัน ติดกันประมาณ 2 ใน 3 ส่วน ยาวเท่ากลีบปีกและกลีบคู่ล่าง รังไข่รูปทรงกระบอก ก้านเกสรเพศเมียเรียวยาว มีขนยาวหนาแน่นช่วงปลายด้านใน ผลเป็นฝัก รูปดาบ แบนยาว กว้าง 1-1.5 เซนติเมตร ยาว 5-12 เซนติเมตร มีขนสั้นนุ่ม ปลายเป็นจะงอยสั้น ๆ ฝักอ่อนมีสีเขียว พอแก่มีสีน้ำตาลอ่อน แตกเป็น 2 ฝา เมล็ดรูปไต สีดำ จำนวน 6-10 เมล็ด

     
  การใช้ประโยชน์    


  ดอกนำมาทำสีประกอบอาหารและสามารถนำมาปรุงอาหารได้ ดอกมีคุณค่าทางสมุนไพรช่วยปลูกผม ราก บำรุงตาแก้ตาฟาง สามารถปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ

      
เจ้าของภาพ พีระพงษ์ แขกสินทร
 
ย้อนกลับ

 

Copyrights © NPRU HERB, Nakhon Pathom Rajabhat University. All rights reserved.
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
85 ถ.มาลัยแมน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม 73000 โทรศัพท์ 034-109-300 อีเมล rajabhat@npru.ac.th