ข้อมูลพืช |
|
|
เจ้าของภาพ
ดาวเรือง วิเศษสิงห์ |
|
ชื่อพืช |
อินทนิลน้ำ |
ชื่อวิทยาศาสตร์ |
Lagerstroemia speciosa (L.) Pers. |
ชื่อวงศ์ |
LYTHRACEAE |
ชื่อสามัญ |
Queen’s flower, Queen’s crape myrtle, Pride of India, Jarul |
ชื่อพื้นเมือง |
ตะแบกดำ ฉ่วงมู ฉ่องพนา บางอบะซา บาเย บาเอ อินทนิล |
ฤดูที่ดอกบาน |
เดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม |
|
<< พิมพ์ QR code เพื่อการศึกษา |
ลักษณะทั่วไป |
|
|
ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ต้นมีความสูงประมาณ 5-20 เมตร ลำต้นเล็กและมักคดงอ แต่พอใหญ่ขึ้น จะเปลาตรง เป็นไม้ผลัดใบแต่ผลิใบใหม่ไว มักมีกิ่งใหญ่แตกจากลำต้นสูงเหนือจากพื้นดินขึ้นมาไม่มาก จึงมี เรือนยอดที่แผ่กว้าง เป็นพุ่มลักษณะคล้ายรูปร่มและคลุมส่วนโคนต้นเล็กน้อย ผิวเปลือกต้นมีสีเทาหรือสีน้ำตาลอ่อน มีรอยด่างขาว ๆ อยู่ทั่วไป ผิวเปลือกค่อนข้างเรียบ ไม่แตกเป็นร่อง ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกันหรือออกเยื้องกัน เล็กน้อย ลักษณะของใบเป็นรูปทรงขอบขนานหรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก มีความกว้าง 5-10 เซนติเมตร และ ยาว 11-26 เซนติเมตร ใบมีสีเขียว เนื้อใบค่อนข้างหนาและเกลี้ยงเป็นมันทั้งสองด้าน โคนใบบนหรือเบี้ยวเยื้องกัน เล็กน้อย ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ส่วนปลายใบเรียวและเป็นติ่งแหลม มีเส้นแขนงใบประมาณ 9-17 คู่ ดอกมีลักษณะเป็นดอกใหญ่มีหลายสี เช่น สีม่วงอมชมพู สีม่วงสด หรือม่วงล้วน ออกดอกรวมกันเป็นช่อใหญ่ ตามปลายกิ่งหรือตามง่ามใบบริเวณปลายกิ่ง มีความยาว 30 เซนติเมตร กลีบดอกบาง ลักษณะเป็นรูปช้อนที่มีโคนกลีบ เป็นก้านเรียว ดอกบานเต็มที่มีรัศมีความกว้างประมาณ 5 เซนติเมตร และมีรังไข่กลมเกลี้ยง ผลมีลักษณะเป็นรูปไข่ กว้าง 1.5-2 เซนติเมตรและยาว 2-2.6 เซนติเมตร ผลมีสีน้ำตาลแดง เป็นผลแห้ง เมื่อแก่จะแยกออกเป็น 6 เสี่ยง และจะเผยให้เห็นเมล็ดเล็ก ๆ ที่มีปีกเป็นครีบบาง ๆ ทางด้านบน
|
|
|
|
|
การใช้ประโยชน์ |
|
|
นิยมปลูกไว้เป็นไม้ริมทางและเป็นไม้ประดับ ใบอ่อนนำมาตากแดดใช้ชงเป็นชาไว้ดื่มได้ ช่วยแก้เบาหวาน และช่วยลดความอ้วน เนื้อไม้อินทนิลน้ำนำมาใช้ในการก่อสร้างต่าง ๆ
|
|
|
|
|
|
เจ้าของภาพ
ดาวเรือง วิเศษสิงห์ |
|
ย้อนกลับ |