โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
กิจกรรมการจัดทําฐานข้อมูลพรรณไม้เพื่อการเรียนรู้ด้วย QR code

โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
 

 ข้อมูลพืช
   
 
เจ้าของภาพ พีระพงษ์ แขกสินทร
  ชื่อพืช เอื้องหมายนา
  ชื่อวิทยาศาสตร์ Cheilocostus speciosus (J. Koenig) C.D. Specht
  ชื่อวงศ์ COSTACEAE
  ชื่อสามัญ Crape Ginger, Spiral Flag
  ชื่อพื้นเมือง เอื้องเพ็ดม้า เอื้องต้น เอื้องช้าง เอื้องใหญ่ บันไดสวรรค์ ซูเลโบ
  ฤดูที่ดอกบาน ออกดอกตลอดทั้งปี
<< พิมพ์ QR code เพื่อการศึกษา
  ลักษณะทั่วไป    


  ไม้ล้มลุก ลำต้นกลมอุ้มน้ำ เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5 เซนติเมตร สูง 1-2 เมตร โคนต้นแข็ง ใบเดี่ยว เรียงแบบเวียน ใบรูปหอก ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมน มีขนอ่อนนุ่ม ก้านใบแผ่นเป็นกาบโอบหุ้มลำต้น ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบ ดอกออกเป็นช่อแน่นที่ปลายยอด ใบประดับสีแดงเรียงซ้อนกันแน่น กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอดรูปปากแตร ขอบหยักเป็นคลื่น มีกลีบเลี้ยงอยู่ 3 กลีบ เป็นแผ่นใบแบน ขอบมนสีแดงยาว 3-5 เซนติเมตร ผลกลมรูปไข่หรือรูปกระสวย มีเนื้อแข็งสีแดง เมล็ดรูปเหลี่ยม สีดำเป็นมันเงา

     
  การใช้ประโยชน์    


  นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ รากใช้เป็นยาขม ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ไข้ ขับพยาธิ และโรคผิวหนัง เหง้าใช้ขับปัสสาวะ เป็นยาถ่าย แก้อาการบวมน้ำ ตกขาว โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ แผลอักเสบบวม มีหนอง ฆ่าพยาธิ หน่ออ่อนต้มรับประทานเป็นผักร่วมกับน้ำพริก หรือนำไปปรุงอาหาร เช่น แกงส้ม แกงเลียง

      
เจ้าของภาพ พีระพงษ์ แขกสินทร
 
ย้อนกลับ

 

Copyrights © NPRU HERB, Nakhon Pathom Rajabhat University. All rights reserved.
โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
โดย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
85 ถ.มาลัยแมน อ.เมืองนครปฐม จ.นครปฐม 73000 โทรศัพท์ 034-109-300 อีเมล rajabhat@npru.ac.th